ข้อมูลทั่วไป
อำนาจหน้าที่ของอบต.
ผลการพัฒนาที่ผ่านมา
แหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล
ผลิตภัณฑ์ตำบล (OTOP)
ที่พักในตำบล
ร้องเรียน-ร้องทุกข์
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประกวดราคา
ภาพกิจกรรม
เว็บบอร์ด
ติดต่อเจ้าหน้าที่
การรับฟังความเห็นประชาชน
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล"
 
โครงสร้างการบริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา อบต.
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักงานปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ฯ
 
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี (พ.ศ.2567-2569)
รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน
O25 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม
งานร้องเรียนร้องทุกข์
การป้องกันการทุจริต
ควบคุมภายใน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน/การให้บริการ
การเงิน - การคลัง
การบริหารทรัพยากรบุคคล
แผนพัฒนาท้องถิ่น
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ลานกีฬา/สนามกีฬา
แผนการดำเนินงาน
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
ระเบียบกฏหมาย
ทะเบียบภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายเลขโทรศัพท์ ผู้นำในตำบลแม่กรณ์
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบไตรมาส
การบริหารเงินงบประมาณ
รายงานผลการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์
พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565
กองช่าง : แบบคำขออนุญาตต่างๆ
สํานักงานปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ฯ
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

✅คนพิการได้สิทธิอะไรบ้าง✍

( ประกาศเมื่อ 02/01/2565 เปิดอ่าน 46 ครั้ง)

คนพิการ คือบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้นคนพิการจึงควรมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

คนพิการทั่วไปทั้งคนที่มีบัตรและไม่มีบัตรคนพิการสามารถรับสิทธิคนพิการได้ดังนี้

1.ได้รับเบี้ยคนพิการ

เฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนมีบัตรประจำตัวคนพิการถูกต้อง และมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ “เบี้ยคนพิการ” คนละ 800 บาท/เดือน จะจ่ายเป็นเงินสดหรือจ่ายผ่านบัญชีธนาคารภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนตลอดชีวิตและสิ้นสุดลงเมื่อคนพิการเสียชีวิต/แจ้งขอสละสิทธิ 

ถ้าเป็นคนพิการที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิทั้ง “เบี้ยคนพิการ” และ “เบี้ยผู้สูงอายุ”

2.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

       สิทธิคนพิการยังได้รับบริการทางสาธารณะสุข เพื่อการรักษาพยาบาลและช่วยเหลือให้คนพิการสามารถทำกิจกรรมทั่วไปได้ตามความต้องการ จำเป็นต้องฝึกฝนและทำอย่างต่อเนื่องให้เกิดความชำนาญและป้องกันความพิการที่จะเกิดเพิ่มขึ้น

        เช่น กายภาพบำบัด, กิจกรรมบำบัด(กลุ่มสันทนาการ ฝึกอบรม), การประเมิน/แก้ไขการพูด, จิตบำบัด, พฤติกรรมบำบัด, ฟื้นฟูการได้ยิน-การมองเห็น, ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ, การพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการใช้ชีวิต, บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก (ฝังเข็ม นวดไทย), บริการทันตกรรม เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน, บริการเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมช่วยความพิการและแจ้งข้อมูลข่าวสารสุขภาพผู้พิการสามารถเข้าถึงได้

      จะได้สิทธิคนพิการบริการข้างต้นก็ต่อเมื่อ เปลี่ยนจากสิทธิบัตรทองธรรมดาเป็นสิทธิคนพิการ ท.74  (“สิทธิหลักประกันสุขภาพ” หรือที่เคยรู้จักกันในนาม“สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทอง”)

      แสดงบัตรท.74 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อขอบริการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการรักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วยและได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่หน่วยบริการที่ระบุในบัตรประกันสุขภาพทั่วประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

3.ได้รับการศึกษาฟรี

      โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่พบความพิการจนตลอดชีวิต เป็นอีกประโยชน์หนึ่งของสิทธิคนพิการ สามารถแจ้งรับบริการได้ที่ศูนย์การศึกษา พิเศษประจำจังหวัด โรงเรียนใกล้บ้าน หรือสถานศึกษา หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ของจังหวัดต่างๆ หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด

       เพื่อได้รับสิทธิทางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 15 ปี 2562 พร้อมได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลือ โดยเลือกสถานที่ ระบบและรูปแบบทางการศึกษาคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้พิการแต่ละประเภท

4.คนพิการสามารถสมัครงาน

        สมัครงานได้ที่สถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นสิทธิคนพิการที่ควรได้รับ โดยสามารถแจ้งรับบริการจัดหางานที่ศูนย์จัดหางานหรือแจ้งองค์กรด้านคนพิการที่บริการจัดหางานให้ เช่น ศูนย์จัดหางานคนพิการพระมหาไถ่ พัทยา และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

         ถ้านายจ้างรับคนพิการเข้าทำงานอันตราส่วนพนักงานต่อคนพิการ 100:1 นายจ้างมีสิทธิได้รับข้อยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายในการจ้างคนพิการ นายจ้างสามารถนำค่าจ้างนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง หากสถานประกอบการใดที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานต้องจ่ายเงินสมทบทุนเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือดูแลคนพิการ

**แต่นายจ้างจะรับสิทธิประโยชน์เฉพาะการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเท่านั้น**

5.บริการสิ่งอำนวยความสะดวก

       ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เช่น ห้องน้ำทางลาด ที่จอดรถสำหรับคนพิการ เอกสารอักษรเบรลล์ ล่ามภาษามือ บริการคนส่งสาธารณะ ข้อมูลข่าวสารและบริการให้สัตว์นำทางกับคนพิการ เป็นต้น ให้แจ้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบ อบต. พมจ. สำนักงานเขต สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นต้น

6.คนพิการมีสิทธิขอกู้เงิน

      สิทธิคนพิการมีสิทธิขอกู้เงิน ไว้เพื่อประกอบอาชีพได้ที่พมจ. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด

กู้ได้เป็นรายบุคคลไม่เกินรายละ 60,000 บาท ถ้าประสงค์กู้เงินเกินวงเงินที่กำหนดให้พิจารณาเป็นรายๆไม่เกิน 120,000 บาท

กู้เป็นกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพกลุ่มละไม่เกิน 1,000,000 บาท

**ไม่มีดอกเบี้ยแต่ต้องผ่อนส่งภายใน 5 ปี**

ผู้กู้ต้องอายุ20ปีขึ้นไปและมีบัตรผู้พิการและบัตรดูแลผู้พิการ กรอกข้อมูลว่าจะนำทุนไปประกอบอาชีพด้านใด โดยมีผู้ค้ำประกันที่เงินเดือนมั่นคง 1 คน ยื่นเรื่องขออนุมัติเงินไม่เกิน 2 สัปดาห์

7.แจ้งรับบริการสวัสดิการสังคม

      ได้ที่ อบต. พมจ. สำนักงานเขต  ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิคนพิการอย่างทั่วถึง เช่น ผู้ช่วยคนพิการ (สำหรับคนพิการระดับรุนแรง) ค่าใช้จ่ายสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานที่พักอาศัย สถานที่เลี้ยงดูสำหรับผู้พิการไร้ที่พึ่ง

8.บริการล่ามภาษามือ

       เฉพาะคนหูหนวกมีสิทธิยื่นคำขอเพื่อขอรับบริการล่ามภาษามือในกรณีต่างๆแจ้งรับบริการได้ที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย อบต. พมจ. สำนักงานเขต ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร  หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด เช่น การใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณะสุข การสมัครงาน การร้องทุกข์ การกล่าวโทษหรือเป็นพยาน การเข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรมรวมทั้งเป็นผู้บรรยาย

9.ลดหย่อนภาษีเงินได้

สิทธิคนพิการยังสามารถขอลดหย่อนภาษีเงินได้ โดยแจ้งหน่วยงานของกรมสรรพากรที่ไปเสียภาษี

สำหรับผู้ดูแลที่เลี้ยงดูคู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่ที่พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนแบบเหมาได้คนละ 60,000 บาทต่อปี
แต่ถ้าผู้พิการหรือทุพพลภาพที่ดูแลอยู่ไม่คู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้แบบเหมา 60,000 บาทต่อเพียงคนเดียว
ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้และมีความพิการด้วย สามารถรถหย่อนภาษีคู่สมรสได้ 60,000 บาท และลดหย่อนผู้พิการได้อีก 60,000 บาท รวมเป็นเงินลดหย่อนทั้งสิ้น 120,000 บาท



ข่าวประชาสัมพันธ์อื่น ๆ

▶▷▸ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ วิสามัญ สมัยที่ 5 ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ✅

( ประกาศเมื่อ 20/11/2567 เปิดอ่าน ครั้ง)

▶▷▸ประชาสัมพันธ์การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA) ประจำปี 2567 ✅

( ประกาศเมื่อ 20/11/2567 เปิดอ่าน ครั้ง)

▶▷▸ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ วิสามัญ สมัยที่ 5 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ✅

( ประกาศเมื่อ 11/11/2567 เปิดอ่าน ครั้ง)

ประชาสัมพันธ์รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 (ไตสมาสที่ 4) เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน

( ประกาศเมื่อ 08/11/2567 เปิดอ่าน ครั้ง)

ประชาสัมพันธ์ประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 4-2567

( ประกาศเมื่อ 08/11/2567 เปิดอ่าน ครั้ง)

 
 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ 
หมู่ 13 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
โทรศัพท์ 053-726-368-9   แฟกซ์ 053-726-004
อีเมล saraban@maekorn.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ครั้ง กำลังออนไลน์ 1 คน
อบต.แม่กรณ์ ออกแบบและพัฒนาโดย : เชียงรายเอ็นเทอร์ซอฟต์ 

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น

999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์