|
ผลการพัฒนาที่ผ่านมา |
|
การสรุปสถานการณ์พัฒนา SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค) |
|
1. พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน การเป็นศูนย์กลางคมนาคม การท่องเที่ยวและวิถีการผลิตการเกษตรยั่งยืนเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ ASEAN |
ผลการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อเป็นโครงข่ายอำนวยความสะดวกทางระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศ GMS / AC+6 เพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และต้นทุนและส่งเสริมการแปรรูป เพื่อสร้างคุณค่า พัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย และสนับสนุนระบบชลประทาน เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ยกระดับการท่องเที่ยวและพัฒนาภูมปัญญาท้องถิ่น สู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และ SME เพื่อเพิ่มมูลค่าการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด การค้า และการลงทุน |
|
2. ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
การใช้บริบทด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างภูมิคุ้มกันของครอบครัวชุมชนและสังคม เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการศาสนา เรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาของตำบล จังหวัด และกลุ่มประเทศ GMS / AC+6 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน สนับสนุนให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของครอบครัวชุมชนและสังคม |
|
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข |
สนับสนุนให้มีระบบบริการสาธารณสุขและแพทย์ที่มีมาตรฐานครอบคลุม และเข้าถึงประชาชนใน
พื้นที่ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาการกีฬาและนันทนาการ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยและความมั่นคงของพื้นที่ บริหารจัดการเครือข่ายทางสังคมและแก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมในพื้นที่ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย |
|
4. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสงบ |
สนับสนุนฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำอย่างมี
ประสิทธิภาพและดุลยภาพที่ยั่งยืน สนับสนุนให้มีระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ภัยธรรมชาติการวางและจัดทำผังเมือง ตลอดจนการพัฒนาเมืองตามผังเมืองที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ |
|
5. การพัฒนาการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการที่ดี |
ส่งเสริมธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี เพิ่มขีดสมรรถนะของบุคลากรภาครัฐเพื่อการบริการที่ดี |
|
การวิเคราะห์ศักยภาพ |
การสรุปสถานการณ์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ ได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานการณ์การพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยใช้เทคนิค Swot Analysis (จุดแข็ง – จุดอ่อน – โอกาส – อุปสรรค) มีรายละเอียดดังนี้ |
|
การวิเคราะห์จุดแข็ง ( Strength ) |
1. มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพียงพอในการดำเนินงานแต่ละด้าน ประจำอยู่ในสำนักหรือส่วนต่าง ๆ ของ อบต.แม่กรณ์
2. องค์การบริหารส่วนตำบลมีความเป็นอิสระ ในการดำเนินการด้านนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลังและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตนเอง
3. นโยบายและทิศทางการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ใน ทุก ๆ ด้านตามสภาพปัญหาและความต้องการของตำบลแม่กรณ์
4. มีงบประมาณรายได้ จาก ภาษีจัดเก็บเอง , ภาษีจัดสรร , ค่าธรรมเนียม และเงินอุดหนุน
5. มีระบบฐานข้อมูลของตำบล และสามารถนำไปเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ในการวางแผนงานพัฒนาด้านต่างให้สอดคล้องกับพื้นที่ ที่ได้มาจากดำเนินการจัดเก็บเอง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
6. มีทรัพยากรบุคคล เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานที่มีศักยภาพเป็นของตนเอง
7. มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุก ๆ หน่วยงาน
8. มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เหมาะแก่การเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมโยงกับตำบลใกล้เคียงที่จะกำหนดเป้าหมาย ในการพัฒนาร่วมกันในอนาคต
9. พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ แหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด ขิง มันสำปะหลัง ลิ้นจี่ เป็นต้น
10. มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและมีชื่อเสียง เช่น วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ หมู่ 11 บ่อน้ำทิพย์ หมู่ 6 , พระธาตุศรีจอมจันทร์ หมู่ 3
11. มีต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณีที่เข้มแข็ง เป็นต้นทุนในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับตำบลต่อไป
12. มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นต้นทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่การพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน และพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งและความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตได้
13. มีองค์กรชาวบ้านที่มีความเข้มแข็งเป็นแกนนำในการพัฒนาตำบล |
|
การวิเคราะห์จุดอ่อน ( weak ) |
1. ประชาชนยังตกเกณฑ์และมีฐานะยากจน
2. ประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นโดยรวม
3. มีปัญหาทางสังคม เช่น ยาเสพติด การว่างงาน โรคเอดส์ ฯ ล ฯ
4. ค่านิยม ด้านการศึกษาของบุตรหลานคนในพื้นที่ไม่ให้ความสำคัญแก่สถานศึกษาในพื้นที่ เนื่องจาก ระยะทางจากตัวเมือง - ตำบล มีระยะทางเพียง 15 กิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาการสร้างค่านิยมส่ง ลูกหลานเข้าไปเรียนในเขตเมือง ทำให้จำนวนนักเรียนที่มีอยู่ลดจำนวนลงทุก ๆ ปี
5. การจัดการด้านการตลาด การผลิต และรูปสินค้าเกษตรยังไม่มีประสิทธิภาพ
6. ระบบสารสนเทศ ยังไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพ
7. โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าเป็น ถนน ไฟฟ้า ประปา แหล่งน้ำ ฯลฯ ยังมีความไม่พร้อมบางจุด
8. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ ยังไม่สามารถดำเนินงานให้ตรงต่อความต้องการของประชาชนในตำบลแม่กรณ์ |
|
การวิเคราะห์โอกาส ( opportunity ) |
1. มีการรวมกลุ่มของประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการองค์การบริหารส่วนตำบลทางด้านการเมือง กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาตำบลตนเองไปในทิศทางที่เป็นความต้องการของประชาชน
2. นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ได้แก่ การเกษตรกรรมแบบพอเพียง ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล การสร้างความ เข้มแข็งของทุกชุมชนท้องถิ่น และประชาสังคม
3. มีเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ |
|
การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค์และข้อจำกัด ( Threat ) |
1. ปัญหาความขัดแย้งและกลุ่มผลประโยชน์ ภายในเขตพื้นที่ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
2. ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และปัญหาทางด้านความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น การลงทุน การออม การผลิต รายได้ รายจ่าย การ ใช้ที่ดิน แรงงาน การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
3. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้าน |
|
การประเมินผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ |
|
การดำเนินงานด้นเศรษฐกิจ |
มีการสนับสนุนกลุ่มองค์กรอาชีพ เพื่อพัฒนารายได้กลุ่ม เสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อ เป็นฐานในการยกระดับกลุ่มอาชีพ โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินงานตลอดจนการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิต และสิ้นค้าโอทอปในตำบลแม่กรณ์ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในตำบลแม่กรณ์ให้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด และประเทศ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการค้าขายของให้กับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในทุกๆปี โดยเฉพาะสวนป่าพะเยาว์ อ่างเก็บน้ำบ้านฝั่งหมิ่น และน้ำตกขุนกรณ์ |
|
การดำเนินงานด้านสังคม |
1. มีการส่งเสริมในด้านนันทนาการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่การสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาแก่ประชาชนโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจัดการแข่งขันกีฬาในระดับตำบล กีฬาเยาวชน เป็นการสนับสนุนการใช้เวลาว่างของประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพ ห่างไกลยาเสพติด สร้างความสามัคคีให้กับประชาชนเป็นฐานของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน
2. มีการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในตำบล เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นพลังที่สำคัญของท้องถิ่นและประเทศ โดยสนับสนุนในด้าน กีฬา กิจกรรมด้านสังคมนันทนาการต่างๆ
3. มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ระชานได้ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดและสนับสนุนงบประมาณในด้านการปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ โดยการให้ความร่วมมือกับตำรวจภูธรเชียงราย การร่วมกับฝ่ายกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ออกตั้งด่านสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์
4. มีการดำเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และภัยพิบัติต่าง ๆ ส่งเสริมปฏิบัติงานกู้ชีพฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
5. มีการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ ได้มีการช่วยเหลือผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ โดยการเยี่ยมบ้าน โดยกลุ่มอาสาสมัครของประชาชนในพื้นที่ด้วยกันเอง เพื่อความช่วยเหลือเรื่องปัจจัยสี่ การให้กำลังใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วยกันเอง
6. มีการสนับสนุนกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี ของทุกชนเผ่า และทุกๆ ศาสนาตามความเชื่อของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ |
|
การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน |
1. มีการก่อสร้างปรับปรุงและซ่อมแซมถนนคอนกรีตไร้ฝุ่น ประชาชนได้ใช้สัญจรอย่างปลอดภัย
2. มีการดำเนินการสนับสนุนงบประมาณขยายติดตั้งไฟกิ่งให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอในเวลากลางคืน
3. มีการดำเนินการขยายเขตประปา หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำบริโภค อุปโภคอย่างทั่วถึง
4. มีการปรับปรุงหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข่าวสารบ้านเมือง เรื่องต่าง ๆ ที่ประชาชนควรรู้ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และทันสมัย
5. มีการสร้างฝายเก็บกัดน้ำเพิ่มเติมตามหมู่บ้านต่างๆ |
|
การดำเนินงานด้านแหล่งน้ำ |
1. มีการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร ขุดลอกคลองธรรมชาติ ขุดลอกลำเหมือง เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการเกษตรกรรม
2. มีการตรวจมาตรฐานน้ำ การไม่ใช่สารเคมี และการอนุรักษ์พันธุ์ปลาพื้นบ้านตลอดจนการพัฒนาบำรุงรักษาป่าต้นน้ำ
3. มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพื่อใช้เก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร และการใช้ในตำบล |
|
การดำเนินงานด้านสาธารณสุข |
1. มีการดำเนินการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยการพ่นหมอกควันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในตำบล โดยความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน มีการสนับสนุนงบประมาณและจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ในการดำเนินงาน ศูนย์ศสมช. ทุกหมู่บ้านและจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ประชาชน ด้านความรู้ด้านสาธารณสุขต่างๆ
2. มีการสนับสนุนการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์
3. มีการรณรงค์และดำเนินกิจกรรมป้องกันไข้หวัดนกในพื้นที่
4. มีการรณรงค์การงดการเผาป่า และลดหมอกควันในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์
5. มีการสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านในการป้องกันและรักษาวัณโรคในตำบลแม่กรณ์
6. มีการสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านในการควบคุมและป้องกันวัณโรคในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ |
|
การดำเนินงานด้านการเมือง การบริหาร |
1. มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงาน ลูกจ้าง คณะผู้บริหาร และ สมาชิกสภามีความรู้ในด้านการปกครองและด้านกฎหมาย จัดอบรมให้ความรู้กับผู้นำชุมชนทุกกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน และส่งเสริมให้มีบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น มีการจัดประชุมประชาคมตำบล
2. มีการจัดเวทีสรุปงานของแต่ละด้านในองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ และนำเสนอคณะผู้บริหารเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน |
|
การดำเนินงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม |
1. มีการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่โรงเรียนในพื้นที่ เพื่อเพิ่ม พูนทักษะในการเรียนการสอน อีกทั้งสนับสนุนอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันให้กับเด็กในวัยเรียนอย่างทั่ว ถึงมีการส่งเสริม และสนับสนุนงบประมาณจัดงานพิธีกรรมทางศาสนา งานรัฐพิธีและประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น
2. มีการจัดตั้งโรงเรียน อบต.แม่กรณ์ เพื่อสอนชั้นอนุบาล 1 , 2 และ 3
3. มีการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมตามวันเวลาสำคัญต่างๆ ทั้งตามประเพณี และโอกาสต่างๆ อย่าสม่ำเสมอ |
|
การดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
1. มีการดำเนินการรณรงค์ให้ราษฎรรักษาความสะอาดในหมู่บ้าน ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนการปลูกต้นไม้ทำความสะอาดพื้นที่ถนนในหมู่บ้าน
2. มีการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะ ลดโลกร้อน ตลอดจนสนับสนุนการสร้างเขตอนุรักษ์พันธ์ปลาพื้นเมืองตามบ้านต่างๆ |
|
การดำเนินงานพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” อีกทั้ง พัฒนาที่เป็นธรรม และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของกลุ่มคนในสังคม และความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์เป็นรากฐานการพัฒนาที่มั่นคง และเป็นฐานการดำรงวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมไทยตลอดจนการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
ในการบริหารจัดการประเทศทุกระดับ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีเกียรติภูมิและมีศักดิ์ศรี ภายใต้วิสัยทัศน์ และแนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ทำให้เกิดการกระจายการบริหารจัดการที่ดีสู่ท้องถิ่น ในลักษณะของการถ่ายโอนภารกิจ เนื่องจากมุ่งเน้นที่พัฒนาฐานรากให้แข็งแรง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืนตามลำดับ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ ได้รับผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์กรและพัฒนาท้องถิ่นตามหลักการข้างต้น โดยกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของฐานรากให้เกิดฐานรากที่มั่นคง เท่าเทียมกัน และมุ่งความสามัคคี สมานฉันท์ มากกว่าแก้ไขปัญหาโดยแนวคิดขององค์กรอย่างเดียว การดำเนินโครงการ กิจกรรม ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม จึงเป็นนโยบายหลักที่มีความสอดคล้องต่อการสร้าง “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและท้องถิ่นอยู่เย็นเป็นสุข” |
|
การดำเนินงานการพัฒนาตามนโยบายริเริ่มของท้องถิ่น |
นำหลักและแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ และนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยยึดแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มาเป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายของท้องถิ่น โดยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล และปัญหา ความต้องการ โครงการพัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นผ่านเวทีประชาคมท้องถิ่น ซึ่งนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายการพัฒนา
ทั้งนี้ ได้ผ่านกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556-2559) เป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี และแผนการดำเนินงาน นำไปสู่การปฏิบัติตามลำดับ เพื่อมุ่งพัฒนาให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ตามแนวทางการพัฒนา ตลอดจนประเมินผลเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 ทุกขั้นตอนดังนั้น การพัฒนาตามนโยบายริเริ่มของท้องถิ่น จึงมีแผนแม่บท และแผนดำเนินงาน รองรับการนำไปปฏิบัติอย่างชัดเจน |
|
|